นางสาวธันย์ชนก   โสตะจินดา (ต้นน้ำ) 

 
เข้าเรียนโรงเรียนสองภาษาลาดพร้าว ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  (นักเรียนเรียนทุน)   จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  รุ่นที่ 4  ปีการศึกษา 2555
image
การศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา เกรดเฉลี่ย กิจกรรมและผลงานดีเด่น
ศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6  Panyarat High school (English Program) เกรดเฉลี่ยจบมัธยมปีที่ 3 ได้ 3.89  เกรดเฉลี่ยจบมัธยมปีที่ 6
ได้ 4.00  , สอบเข้าระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1  ได้ที่ Half scholarship (Full 6 academic years)  English program และโรงเรียนบดินทรเดชา
(สิงห์ สิงหเสนี) 


การศึกษาระดับปริญญาตรี
ปัจจุบันศึกษาที่  มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (รับตรงผ่าน TCAS รอบ 1  คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์)

ความประทับใจที่มีต่อโรงเรียนสองภาษาลาดพร้าว
พูดถึง LBS แล้วคงไม่พูดถึง "การเรียนรู้อย่างมีความสุข" ไม่ได้เลย เพราะตอนประถมต้นน้ำเป็นเด็กที่ซนมาก ธรรมชาติของเด็กอาจจะมีการขยุกขยิกอยู่ไม่นิ่ง เล่นอะไรที่อาจจะอันตรายกับตัวเอง อารมณ์แปรปรวนงอแงบ้าง ซึ่งต้นน้ำมีครบเลย 555555 และเมื่อมองย้อนกลับไปแล้ว ไม่มีวันไหนเลยที่ต้นน้ำไม่อยากไปโรงเรียน  โรงเรียนสองภาษาลาดพร้าวเป็นบ้านที่อบอุ่นมากสำหรับต้นน้ำ ต้นน้ำชอบที่จะได้วิ่งเล่นไล่จับบนสนามบอลกว้างๆช่วงพักเที่ยง กินไอติมใส่เยลลี่สองเม็ดกับซูชิทอด จับลูกออดในบ่อปลา แอบไปเล่นของเล่นของน้องๆ อนุบาลบ้าง ซึ่งเล่นขนาดนี้แน่นอนว่าคาบหลังเที่ยงคือหลับเป็นตาย แต่ต้นน้ำไม่เคยได้หลับจนจบคาบเลย เพราะคาบเรียนของ LBS ครึกครื้นมาก คาบการเรียนจัดในรูปแบบ Active Learning ทำให้คาบเลขยากๆเป็นเรื่องสนุกได้ Teacher เป็นคนตลกและรักเด็กมาก และชอบให้หมุนโต๊ะรวมเป็นกลุ่มช่วยกันทำโจทย์หลังจากสอนในคาบเสร็จ จากการเรียนที่น่าเบื่อก็จะกลายเป็นเสียงหัวเราะคุยกันของเด็ก และก็มีต้นน้ำกับเพื่อนๆที่ชอบแข่งกันว่าใครจะทำเสร็จก่อน  สิ่งที่ประทับใจจนจำได้ถึงทุกวันนี้คือคาบเรียนวิทยาศาสตร์ เพราะตอนนั้นต้นน้ำอยู่แค่ประถมเองแต่ได้เข้าทำแลป ทำการทดลองทุกอาทิตย์ ได้ลองผสมนู้น ทดลองนี้ ใส่แว่นตานักวิทย์ มองไปรอบๆห้องแลปก็เห็นกล้องจุลทรรศน์ โมเดลอวัยวะภายในของมนุษย์ โมเดลแมลง แมง ด้วง กุ้ง กั้ง ปู มีครบหมดจริงๆ  ต้นน้ำชอบที่ได้หยิบจับอุปกรณ์และทดลองเพื่อหาคำตอบของเรื่องที่ได้เรียนมา ทำให้การเรียนวิทยาศาสตร์ตอนประถมนั้นแทบไม่ได้ใช้ความจำเลย  สิ่งสุดท้ายที่ต้องนึกถึงคือ กิจกรรมดอกโมก เพราะทุกครั้งที่กลับไปเยี่ยมโรงเรียนจะเห็นดอกโมกบานอยู่ข้างๆสนามบอลที่วิ่งเล่นตอนเด็กๆทำให้รู้สึกว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและเด็กแต่ละช่วงวัยมีความต้องการที่ต่างการ ต้นน้ำในวัยประถมได้วิ่งเล่นบนหญ้ากว้างๆ ซ่อนแอบ ว่ายน้ำในสระ และได้ใช้ความเป็นเด็กที่คุ้มค่าแล้วจริงๆ เด็กในวัยเรียนบางคนอาจประสบปัญหาแบบต้นน้ำบ้างที่พอได้วิ่งเล่นหรือทำกิจกรรมที่ชอบจะสนุกและมีสมาธิกับมันมากๆ แต่พอถึงเวลาเรียนทีไรจะอยู่ไม่ค่อยนิ่ง เหม่อลอยบ่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนในบางครั้ง ถ้าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน LBS ไป ไม่ว่าจะเป็น Teacher หรือคุณครู  ห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้นน้ำชอบไปแอบงีบและอ่านหนังสือการ์ตูน ห้องแลป สนามหญ้า หรือความอบอุ่นที่ได้รับจากสถานที่แห่งนี้ "การเรียนรู้อย่างมีความสุข" อาจไม่เกิดขึ้นกับต้นน้ำก็ได้ รักและคิดถึง LBS มากๆ ค่ะ

 

ผลงาน
1. Thailand National Team Debater (Junior division)
2. Gold Medalist Scholarship, Hainan Association 2014-2017 (3 consecutive years)
3. Qualify as an International Adjudicator for EUth 2015 at Grade 7
4. Chief adjudicator for the Grand Final Round of the 2018 Triam Udom Debate Challenge
5. Quarterfinalists of 4th Thailand World Schools Debating Championship 2013
6. 15th place Best Debater of 4th Thailand World Schools Debating Championship 2013
7. 14th place Best Debater of Mahidol University International College AP Mixer 2015
8. 4th place Team Debate of Mahidol University International College AP Mixer 2015
9. 5th place Best Debater of The World Scholar's Cup 2015 (National round)
10. 2nd place Team Debate of The World Scholar's Cup 2015 (National round)
11. 1st place Best Debater of 2013 High School Debate League Panyarat High School
12. รองชนะเลิศอันดับสอง รายการโต้วาทีภาษาไทยงานเปิดบ้านมหิดล 2556

ผลงาน
1. ได้รับเหรียญพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) เนื่องจากได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศในการเข้าร่วมกิจกรรม Children's International Summer Village 2016 ที่ประเทศอิตาลี
2. รองประธานนักเรียน คณะกรรมการโรงเรียนมัธยมปัญญารัตน์
3. President of Panyarat High School Debate Team
4. ผลงานวิจัย 3 รายการ

4.1 Literature review: Unhealthy Lifestyle and Solution in Making Better Choices
Abstract: This research aimed to establish the significant of prevention rather than treatment where problems have already manifested.
Health is multidisciplinary in which physical, psychological, and socio-cultural factors are equally contributing determinants of health. The deconstruction of influential factors in in decision making was made. In addition, the examination of risks in relation to its benefits as well as differentiating conscious and subconscious behaviors that shape decisions was carried out.

4.2 Research topic: The effect of age and peer pressure on adolescence risk-taking behaviors
Abstract: The presence of increment in risk-taking probability has an effects in altering life-changing decisions in adolescence phase including the propensity of being involved in risky behaviors.
Benefits of studying risk-taking probability, peer pressure impacts such as aggression also contributed towards a better understanding an aggressive feedback incoming from adolescence will lead to a better understanding between students and teacher and improve Thailand major problem such as high rate of dropping out from school due to impulsive behaviors.

4.3 Research topic: To what extent do educators knowingly participated in unhealthy lifestyle choices?
Abstract: People often present their action opposing to what they preferred. Their reasoning's also diverge in myriad possible ways but they are not unpredictable. For example, although educators have knowledge over unhealthy lifestyle, their unhealthy lifestyle were present in some cases.
These behaviors are predictable and not to be totally unexpected even in the case of adults because they spawn from how they reasons their actions. Some may fall to temptation or act without thinking. Some may see it through but still choose to go on with the act.
Here, I have provided some psychological explanations for these behaviors along with practical research. Subject tests with low self-control have a different judgment on assessing the consequences from their actions than those with high self-control. This resulted in them being allured into making unhealthy lifestyle choices.

 
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้